จรรยาบรรณทางธุรกิจของไอเอฟเอส

วิสัยทัศน์

“เราจะมุ่งมั่นไปสู่การเป็นองค์กรด้านการให้บริการที่เป็นที่หนึ่งในประเทศ”

นโยบาย

ส่งมอบบริการที่เป็นเลิศด้านคุณภาพ มุ่งเน้นในการพัฒนา และรักษาบุคลากร ยึดมั่นในจรรยาบรรณทางธุรกิจ เสริมสร้างประโยชน์ของผู้ถือประโยชน์ร่วม

บริษัทไอเอฟเอส ฟาซิลิตี้ เซอร์วิสเซส จำกัด และบริษัทในเครือ มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศในทุก ๆ ด้าน และมุ่งเน้นการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทางบุคลากร ทรัพยากร ระบบการบริหารงาน ด้านบริหารคุณภาพ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านความปลอดภัย ด้านจริยธรรมให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าสูงสุด เพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน จรรยาบรรณทางธุรกิจของไอเอฟเอส บริษัทมีแนวทางปฏิบัติ สำหรับพนักงาน ลูกค้า คู่ค้า โดยยึดถือปฏิบัติตามหลักปฏิบัติของบริษัทฯ บริษัทฯ ให้คำมั่นในการรักษาสิทธิมนุษยชนของแรงงาน และปฏิบัติต่อแรงงานอย่างมีศักดิ์ศรีและด้วยความเคารพตามที่เข้าใจในระดับสากล โดยประยุกต์ใช้กับแรงงานทุกประเภท ทั้งแรงงานชั่วคราว แรงงานต่างด้าว แรงงานสัญญาจ้าง แรงงานจ้างโดยตรง และ แรงงานประเภทอื่น ๆ

A. ด้านแรงงาน

กฎหมาย แรงงานต้องไม่มีการจ่ายค่าธรรมเนียมใด ๆ หรือค่าธรรมเนียมอื่นที่เกี่ยวกับการจ้างงานของตน ให้แก่บริษัทฯ

  1. เสรีภาพในการเลือกงาน

บริษัทฯ ไม่มีการบังคับใช้แรงงาน การผูกมัดแรงงาน (รวมถึงผูกมัดด้วยภาระหนี้) จะโดยสมัครใจหรือไม่สมัครใจ หรือแรงงานตามพันธะสัญญา หรือการหาประโยชน์จากแรงงานนักโทษ ทาส หรือการค้ามนุษย์ รวมไปถึงการขนส่ง การเคลื่อนย้าย การเกณฑ์ การถ่ายโอน หรือการบังคับบุคคลเข้าทำงานด้วยการข่มขู่ บังคับ ขู่เข็ญ ลักพาตัว หรือหลอกลวงให้ใช้แรงงานหรือให้บริการ ห้ามมีข้อจำกัดที่ปราศจากเหตุผลอันควรในการห้ามแรงงานเคลื่อนที่ภายในสถานที่ประกอบการ นอกจากนี้ยังรวมถึงข้อจำกัดที่ปราศจากเหตุผลอันควรในการเข้าหรือออกจากสถานที่ซึ่งจัดหาให้โดยบริษัทพนักงานต้องได้รับหนังสือสัญญาจ้างงานที่เขียนเป็นภาษาท้องถิ่น ซึ่งต้องมีรายละเอียดข้อกำหนดและเงื่อนไขการจ้างงานครบถ้วน และสำหรับเงื่อนไขการจ้างงาน เว้นแต่เปลี่ยนแปลงให้ตรงตามกฎหมายในท้องถิ่น และมีเงื่อนไขที่เทียบเท่า หรือดีกว่า งานทั้งหมดต้องเป็นตามความสมัครใจและแรงงานต้องมีอิสระที่จะลาออกจากงานหรือยกเลิกสัญญาจ้างงานได้ทุกเมื่อ

ทั้งนี้บริษัทฯ ไม่มีการยึด ทำลาย ปกปิด อายัด หรือปฏิเสธไม่ให้แรงงานถือเอกสารระบุตัวบุคคลหรือเอกสารเข้าเมืองของแรงงาน เช่น บัตรประจำตัวที่ออกให้โดยรัฐบาล หนังสือเดินทาง หรือหนังสืออนุญาตทำงาน เว้นแต่การยึดเอกสารดังกล่าวจำเป็นต้องกระทำตามกฎหมาย แรงงานต้องไม่มีการจ่ายค่าธรรมเนียมใด ๆ หรือค่าธรรมเนียมอื่นที่เกี่ยวกับการจ้างงานของตน ให้แก่บริษัทฯ

  1. แรงงานเยาวชน

บริษัทฯ ไม่มีนโยบายการใช้แรงงานเด็ก “เด็ก” หมายถึงบุคคลใด ๆ ที่มีอายุตํ่ากว่า 15 ปี และ บริษัทฯ ไม่มีนโยบายรับพนักงานที่มีอายุตํ่ากว่า 18 ปี (แรงงานเยาวชน) เนื่องจากลักษณะของงานของบริษัทไม่เหมาะกับแรงงานเยาวชน เพราะต้องทํางานที่เสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพหรือความปลอดภัยของพนักงาน และต้องมีการทํางานกะกลางคืนและการทํางานล่วงเวลา ฉะนั้นบริษัทฯ จะรับสมัครงานผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป

  1. ชั่วโมงทำงาน

บริษัทฯ มีการกำหนดเวลาการทำงานที่ชัดเจนและสอดคล้องตามกฎหมายกำหนด นอกจากนี้ ชั่วโมงทํางานไม่ควรมากกว่า 72 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ รวมถึงชั่วโมงทํางานล่วงเวลา เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉินหรือสถานการณ์ที่ไม่ปกติ แรงงานต้องได้รับอนุญาตให้มีวันหยุดอย่างน้อยหนึ่งวันต่อสัปดาห์ สำหรับชั่วโมงการทำงานกรณีกลุ่มลูกค้ามาตรฐานสากล ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของลูกค้า ชั่วโมงการทำงานอาจไม่เกิน 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ รวมชั่วโมงทํางานล่วงเวลา

  1. ค่าจ้างและสวัสดิการ

บริษัทฯ จ่ายค่าตอบแทนให้กับแรงงานเป็นไปตามที่กฎหมายกําหนดรวมถึงกรณีที่เกี่ยวข้องกับค่าแรงขั้นตํ่า ค่าล่วงเวลา และสวัสดิการตามที่กฎหมายได้กําหนดเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายท้องถิ่น พนักงานจะได้รับค่าตอบแทนสําหรับการทํางานล่วงเวลามากกว่าอัตราค่าแรงรายชั่วโมงในเวลาทํางานปกติ ห้ามใช้วิธีการหักค่าแรงเพื่อเป็นมาตรการลงโทษทางวินัย บริษัทฯ มีการกำหนดวันที่การจ่ายค่าแรงในแต่ละรอบไว้ชัดเจนซึ่งได้มีการระบุไว้ในสัญญาจ้างของพนักงาน และมีการแจกเอกสารแจ้งรายได้ให้แก่พนักงานทราบ เพื่อการพิสูจน์ความถูกต้องของค่าจ้างต่องานที่ได้ทํา การใช้พนักงานชั่วคราว พนักงานนอกพื้นที่ และพนักงานภายนอกทั้งหมดต้องอยู่ภายใต้ข้อจํากัดของกฎหมายท้องถิ่น

  1. การปฏิบัติอย่างมีมนุษยธรรม

บริษัทฯ ไม่มีการปฏิบัติโดยใช้ความรุนแรงหรือไร้มนุษยธรรม รวมถึงการล่วงละเมิดทางเพศ การข่มเหงทางเพศ การลงโทษรุนแรง การขู่เข็ญทางจิตใจหรือร่างกาย การกลั่นแกล้ง การทำให้อับอายต่อหน้าสาธารณะ หรือการละเมิดด้วยวาจาต่อแรงงาน หรือแม้แต่การขู่ว่าจะกระทําการดังกล่าว บริษัทฯ มีนโยบายและกระบวนการทางวินัยเพื่อป้องกันการกระทําข้างต้นที่ได้รับการกําหนดไว้อย่างชัดเจนและแจ้งให้พนักงานรับทราบ

  1. การไม่เลือกปฏิบัติ

บริษัทฯ ได้ให้คํามั่นต่อแรงงานเกี่ยวกับการปราศจากการข่มเหงและปราศจากการเลือกปฏิบัติที่ผิดกฎหมาย บริษัทฯ มีนโยบายไม่เลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากชาติพันธุ์ สีผิว อายุ เพศ รสนิยมทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศหรือการแสดงออกทางเพศ สภาวะเผ่าพันธุ์หรือถิ่นกําเนิด ความพิการ การตั้งครรภ์ ศาสนา ความสัมพันธ์ทางการเมือง สมาชิกสหภาพ สถานะทหารผ่านศึก ข้อมูลทางพันธุกรรมที่ดีรับการคุ้มครอง หรือสถานะการสมรส ในการจ้างงานและวิธีปฏิบัติในการทํางาน เช่น ค่าแรง การเลื่อนขั้น การให้รางวัลและโอกาสในการได้รับการฝึกอบรม แรงงานต้องมีสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจตามเหตุผลอันควร นอกจากนี้ แรงงานหรือผู้ที่อาจเป็นแรงงานไม่ควรต้องถูกกําหนดให้ทําการตรวจสุขภาพหรือทดสอบสมรรถภาพทางร่างกาย ซึ่งอาจนําไปสู่การเลือกปฏิบัติ

  1. เสรีภาพในการสมาคม

เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายท้องถิ่น บริษัทฯ เคารพสิทธิของแรงงานทุกคนที่ต้องการก่อตั้งและเข้าร่วมสหภาพแรงงานตามความสมัครใจ เพื่อการต่อรองร่วมกันและการชุมนุมอย่างสันติ เช่นเดียวกันกับการเคารพสิทธิของแรงงานที่ละเว้นจากการร่วมกิจกรรมดังกล่าว แรงงานและ/หรือผู้แทนต้องสามารถสื่อสารและแบ่งปันแนวคิดและความกังวลกับฝ่ายบริหารเกี่ยวกับสภาพการทํางานและวิธีการบริหารได้อย่างเปิดเผย โดยปราศจากความกลัวจากการถูกเลือกปฏิบัติ ลงโทษ ข่มขู่ หรือคุกคาม

B. สุขภาพและความปลอดภัย

บริษัทฯ ตระหนักว่า นอกจากการลดอุบัติการณ์ของการบาดเจ็บและความเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทํางานแล้ว สิ่งแวดล้อมการทํางานที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพจะช่วยเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์และการให้บริการลูกค้าได้มีประสิทธิภาพและตอบสนองความพึงพอใจลูกค้าสูงสุด เป็นไปตามมาตรฐานของข้อกำหนด สามารถรักษาแรงงาน ขวัญและกําลังใจของแรงงาน บริษัทฯ ยังตระหนักอีกว่าการให้ข้อมูลและความรู้แก่แรงงานอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งสําคัญที่จะค้นหาและแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพและความปลอดภัยในสถานประกอบการตามระบบการจัดการที่ได้รับการยอมรับ เช่น ISO 45001 และแนวปฏิบัติขององค์กรแรงงานสากลด้านความปลอดภัยและสุขภาพวิชาชีพ ได้นํามาใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในการจัดเตรียมหลักจรรยาบรรณและอาจเป็นแหล่งข้อมูลเพิ่มเติมที่มีประโยชน์มาตรฐานด้านสุขภาพและความปลอดภัย มีดังนี้

  1. ความปลอดภัยในการทำงาน

บริษัทฯ มีการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย เพื่อให้แรงงานมีความรู้สำหรับการทำงานที่มีความเสี่ยงต่ออันตราย (เช่น อันตรายจากสารเคมี ไฟฟ้าหรือแหล่งพลังงานอื่น อัคคีภัย ยานพาหนะ และอันตรายจากการตกจากที่สูง) ต้องได้รับการระบุและประเมิน การควบคุมโดยการออกแบบเฉพาะ การใช้การควบคุมด้านวิศวกรรม และการควบคุมทางการบริหารจัดการ การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน และระเบียบปฏิบัติด้านความปลอดภัยในการทํางาน (รวมถึงระบบล็อกและการแขวนป้าย (เตือน) และบริษัทได้มีการฝึกอบรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง เมื่ออันตรายต่าง ๆ ไม่สามารถควบคุมได้โดยวิธีการข้างต้น แรงงานต้องได้รับอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่ได้รับการบํารุงรักษาอย่างดีและเหมาะสม รวมทั้งเอกสารให้ความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายเหล่านี้

บริษัทฯ มีระเบียบปฏิบัติดูแลพนักงานที่ตั้งครรภ์/มารดาที่ให้นมบุตรออกจากสภาวะการทํางานที่มีอันตรายสูงหรือลดความเสี่ยงเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยในที่ทํางานของสตรีตั้งครรภ์และมารดาที่ให้นมบุตร รวมถึงความเสี่ยงอันสืบเนื่องจากการทํางาน รวมถึงการจัดหาสถานที่สําหรับมารดาที่ให้นมบุตรที่เหมาะสม

  1. ความพร้อมในกรณีฉุกเฉิน

บริษัทฯ มีการระบุและประเมินสถานการณ์และเหตุการณ์ในกรณีฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น และลดผลกระทบให้น้อยที่สุด โดยการใช้แผนรับมือฉุกเฉินและกระบวนการตอบสนอง รวมถึงการรายงานเหตุฉุกเฉิน การแจ้งเตือนพนักงานและระเบียบปฏิบัติการอพยพ บริษัทฯได้มีการฝึกอบรมซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมหนีไฟ ปีละ 1 ครั้ง เครื่องมือตรวจจับและดับเพลิงที่เหมาะสม ทางออกฉุกเฉินที่เพียงพอ และแผนฟื้นฟูหลังเกิดเหตุ แผนและกระบวนการดังกล่าวต้องเน้นที่การลดอันตรายให้เหลือน้อยที่สุด ที่เกิดขึ้นต่อชีวิต สิ่งแวดล้อม และทรัพย์สิน

  1. การบาดเจ็บและความเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทำงาน

บริษัทฯ มีการนำระเบียบปฏิบัติและระบบต่างๆ มาใช้เพื่อป้องกัน จัดการ ติดตาม และรายงานการบาดเจ็บและความเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทํางาน รวมถึงมาตรการส่งเสริมการรายงานของแรงงาน การจําแนกและบันทึกกรณีบาดเจ็บและเจ็บป่วย การให้การรักษาที่จําเป็น การสอบสวนและดําเนินการเพื่อแก้ไขที่สาเหตุ และการอํานวยความสะดวกให้แรงงานกลับเข้าทํางาน

  1. สุขอนามัยอุตสาหกรรม

บริษัทฯ มีการประเมินแรงงานที่เสี่ยงต่อการได้รับสารเคมี สารชีวภาพและกายภาพ มีการระบุ ประเมิน ควบคุม ตามลําดับขั้นของการควบคุม อันตรายที่อาจเกิดขึ้นต้องถูกขจัดหรือควบคุมผ่านการควบคุมที่เหมาะสมด้านการออกแบบ ด้านวิศวกรรม และด้านการจัดการ เมื่อไม่สามารถควบคุมความเสี่ยงอันตรายได้อย่างเพียงพอโดยวิธีการดังกล่าว สุขภาพของแรงงาน บริษัทฯ มีการตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับพนักงานที่มีความเสี่ยง และในการปฏิบัติงาน มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่เหมาะสม ซึ่งต้องได้รับการบํารุงรักษาอย่างดี โปรแกรมการป้องกันควรรวมถึงเอกสารให้ความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงที่เชื่อมโยงกับอันตรายเหล่านั้น

  1. งานที่ต้องการแรงงานทางกายภาพ

บริษัทฯ มีการประเมินแรงงานที่เสี่ยงต่ออันตรายจากงานที่ใช้แรงงานทางกายภาพ รวมถึงการจัดการกับวัสดุโดยแรงงานคนและการยกของหนักหรือยกของเป็นประจํา การยืนเป็นเวลานานหรือเป็นประจําหรืองานประกอบที่ใช้แรงมากต้องได้รับการระบุ ประเมิน และควบคุม

  1. การป้องกันอันตรายจากการใช้เครื่องจักรกล

บริษัทฯ มีการอบรมให้กับแรงงานที่ต้องปฏิบัติงานกับอุปกรณ์ทำความสะอาดและเครื่องจักรอื่นๆที่เกี่ยวข้องในการทำงาน มีการประเมินความปลอดภัย ในกรณีที่เครื่องจักรอาจก่อให้เกิดอันตรายและการบาดเจ็บต่อแรงงาน จัดให้มีเครื่องป้องกันทางกายภาพ เครื่องล็อกและสิ่งป้องกันซึ่งมีทีมช่างเทคนิคในการซ่อมแซมและตรวจเช็คอุปกรณ์และเครื่องจักรอื่น ๆ ตามระยะเวลาซึ่งรับการบํารุงรักษาอย่างเหมาะสม

  1. สุขอนามัย อาหาร และที่อยู่อาศัย

บริษัทฯ มีการจัดห้องสุขาที่สะอาด นํ้าดื่มสะอาด และการเตรียมที่จัดเก็บอาหาร และสถานที่รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ หอพักแรงงานที่ผู้เข้าร่วมหรือผู้แทนจัดหาให้ต้องได้รับการดูแลรักษาให้สะอาดและปลอดภัย พร้อมด้วยมาตรการฉุกเฉินที่เหมาะสม และการระบายอากาศที่เพียงพอ และพื้นที่ส่วนบุคคลที่มีความปลอดภัยเพื่อเก็บรักษาทรัพย์สินส่วนบุคคลหรือของมีค่า และพื้นที่ส่วนตัวพร้อมสิทธิในการเข้าออกสถานที่ได้ตามเหตุผลอันควร

  1. การสื่อสารด้านสุขภาพและความปลอดภัย

บริษัทฯ ได้มีการสื่อสารให้ข้อมูลเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยที่เหมาะสมแก่แรงงาน และการฝึกอบรมในภาษาที่แรงงานใช้หรือในภาษาที่แรงงานเข้าใจ เกี่ยวกับอันตรายที่ถูกระบุในสถานที่ทํางาน ซึ่งแรงงานเหล่านั้นมีความเสี่ยงที่จะประสบ รวมถึงแต่ไม่จํากัดเพียงอันตรายจากเครื่องจักร ไฟฟ้า สารเคมี อัคคีภัย และอันตรายทางร่างกาย ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพและความปลอดภัยต้องได้รับการติดประกาศไว้อย่างชัดเจนในสถานประกอบการ หรือติดไว้ในสถานที่ที่ระบุไว้และ แรงงานเข้าถึงได้ ต้องมีการฝึกอบรมให้กับแรงงานทุกคนก่อนเริ่มต้นการทํางาน และเป็นประจําหลังจากนั้น แรงงานต้องได้รับการส่งเสริมให้ตระหนักถึงความสําคัญด้านความปลอดภัย

C. ด้านสิ่งแวดล้อม

บริษัทฯ ตระหนักว่าความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมถือเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตสินค้าระดับโลก การดําเนินการผลิตต้องลดผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ ในขณะที่ต้องปกป้องสุขภาพและความปลอดภัยของสาธารณชนด้วย ระบบการจัดการที่ได้รับการยอมรับ เช่น ISO14001 ได้นํามาใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในการจัดเตรียมหลักจรรยาบรรณและอาจเป็นแหล่งข้อมูลเพิ่มเติมที่มีประโยชน์มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม มีดังนี้

  1. ใบอนุญาตและการรายงานด้านสิ่งแวดล้อม

ใบอนุญาตด้านสิ่งแวดล้อมที่จําเป็นทั้งหมด (เช่น การเฝ้าพินิจการปล่อยของเสีย) การอนุมัติ และการขึ้นทะเบียนต้องได้รับการดําเนินการ เก็บรักษา และปรับปรุงให้ตรงกับสถานการณ์ปัจจุบัน และต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดในการรายงาน

  1. การป้องกันมลภาวะและการลดการใช้ทรัพยากร

บริษัทฯ มีการจัดทำโครงการต่าง ๆ เพื่อการลดการปล่อย การระบายสารพิษ และการผลิตของเสียให้เหลือน้อยที่สุด รวมถึงการขจัดให้หมดไปที่แหล่งก่อเกิด หรือทําการปฏิบัติการ ตัวอย่างเช่น การเพิ่มอุปกรณ์ควบคุมมลพิษ การปรับปรุงขั้นตอนการผลิต การบํารุงรักษา และกระบวนการทางสาธารณูปโภค หรือโดยวิธีการอื่น ๆ ต้องอนุรักษ์การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งรวมถึงน้ำ เชื้อเพลิงฟอสซิล แร่ธาตุ และผลิตภัณฑ์จากป่าดงดิบ หรือด้วยวิธีการปฏิบัติการ เช่น ปรับปรุงขั้นตอนการผลิต การบํารุงรักษา และกระบวนการทางสาธารณูปโภค การใช้วัสดุทดแทน การนําไปใช้ซํ้า การอนุรักษ์ การรีไซเคิล หรือโดยวิธีการอื่น ๆ

  1. วัตถุอันตราย

บริษัทฯ มีการจัดทำป้ายชี้บ่งสารเคมีและวัตถุอื่นใดที่ก่ออันตรายหากปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม ติดป้ายแสดง เพื่อให้มั่นใจว่า มีการดูแลด้านความปลอดภัยในเรื่องการจัดการ การเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ การรีไซเคิล หรือการนํากลับมาใช้ใหม่ รวมถึงการกําจัดทิ้ง

  1. ขยะมูลฝอย

บริษัทฯ ได้มีจัดแยกถังขยะแต่ละประเภทต่าง ๆได้อย่างเป็นระบบและรับผิดชอบในการระบุ จัดการ ลด และกําจัดหรือ รีไซเคิลขยะมูลฝอย (ที่ไม่เป็นอันตราย)

  1. การปล่อยมลภาวะทางอากาศ

เนื่องจากบริษัทฯ เป็นผู้ให้บริการทำความสะอาดตามหน่วยงานของผู้จ้าง ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตโดยตรง ทำให้ไม่ได้มีระบบการควบคุมการปล่อยสารระเหยที่เป็นสารอินทรีย์เคมี ละอองลอย สารกัดกร่อน สารอนุภาค สารเคมีทําลายโอโซน และการเผาไหม้ที่เกิดจากการปฏิบัติงานออกสู่อากาศ ต้องได้รับการจําแนก ก่อนปล่อยสู่มลภาวะอากาศ

  1. ข้อจำกัดด้านวัสดุ

บริษัทฯ ยึดถือการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อกําหนดของลูกค้าเกี่ยวกับการห้ามหรือการจํากัดสารเฉพาะในสินค้าและการผลิต รวมถึงการติดฉลากระบุเกี่ยวกับการรีไซเคิลและการกําจัดทิ้ง

  1. การจัดการนํ้า

บริษัทฯ ดําเนินโครงการการจัดการน้ำ ณ สำนักงานของบริษัทฯ ซึ่งต้องจัดทําบันทึก กําหนดคุณลักษณะ และตรวจสอบติดตามแหล่งนํ้า การใช้นํ้า และการปล่อยน้ำ รวมถึงการแสวงหาโอกาสในการอนุรักษ์นํ้า และควบคุมช่องทางการปนเปื้อน ต้องกําหนดคุณลักษณะ ตรวจติดตาม ควบคุม และบําบัดนํ้าเสียทุกชนิดตามที่กําหนด ก่อนทําการปล่อยหรือทิ้งสู่ภายนอก บริษัทฯ ทําการเฝ้าพินิจประสิทธิภาพของระบบการบําบัดนํ้าเสียและระบบการกักเก็บเป็นประจํา เพื่อให้แน่ใจถึงสมรรถนะและสอดคล้องกับกฏระเบียบ

  1. การใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

บริษัทฯ มีการสร้างความตระหนักและสื่อสารให้พนักงานทราบ เกี่ยวกับการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากบริษัทฯ ไม่ได้มีกระบวนการผลิต จึงไม่ได้มีการควบคุม บันทึกการใช้พลังงานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้พลังงานและเพื่อลดปริมาณการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ตํ่าที่สุด

D. จริยธรรม

เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและประสบความสําเร็จในตลาด ลูกค้า คู่ค้า บริษัทฯ ต้องยึดถือปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมขั้นสูงสุด รวมถึง

  1. ความซื่อสัตย์ทางธุรกิจ

บริษัทฯ ยึดถือมาตรฐานความซื่อสัตย์ขั้นสูงสุดในทุกการดําเนินทางธุรกิจ บริษัทฯ มีนโยบายไม่ประนีประนอมต่อการทุจริตโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการติดสินบน การคอรัปชั่น การรีดไถ และการฉ้อฉลในทุกรูปแบบ

  1. ไม่มีการเอื้อประโยชน์โดยไม่เหมาะสม

บริษัทฯ มีนโยบายการไม่มีการเอื้อประโยชน์โดยไม่เหมาะสม คือ ต้องไม่สัญญา เสนอ มอบอํานาจ ให้ หรือยอมรับการติดสินบนหรือวิธีการอื่นใดที่จะทําให้ได้รับผลประโยชน์ที่ไม่ควรหรือไม่เหมาะสม ข้อห้ามนี้รวมถึงการสัญญา เสนอ มอบอํานาจ ให้ หรือยอมรับสิ่งของใดที่มีมูลค่า ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม เพื่อให้ได้มาหรือรักษาธุรกิจไว้ชี้นําธุรกิจแก่ผู้ใดผู้หนึ่ง หรือได้รับผลประโยชน์ที่ไม่เหมาะสม ต้องมีการตรวจสอบติดตามและบังคับใช้กระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นไปตามกฎหมายต่อต้านการคอรัปชั่น มีบทลงโทษสำหรับแรงงานที่ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของบริษัท

  1. การเปิดเผยข้อมูล

การเจรจาทางธุรกิจทั้งหมดควรกระทําอย่างโปร่งใสและมีการอ้างอิงในเอกสารและบันทึกข้อมูลทางธุรกิจของผู้เข้าร่วมอย่างถูกต้องแม่นยํา ข้อมูลเกี่ยวกับแรงงาน สุขภาพและความปลอดภัย วิธีปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม กิจกรรมทางธุรกิจ โครงสร้าง สถานะและผลประกอบการทางการเงินของผู้เข้าร่วม ต้องได้รับการเปิดเผยตามกฏระเบียบและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องของอุตสาหกรรม การปลอมแปลงบันทึกข้อมูลหรือแถลงข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับเงื่อนไขหรือวิธีปฏิบัติในห่วงโซ่อุปทานเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้

  1. ทรัพย์สินทางปัญญา

บริษัทฯ มีนโยบายสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาต้องได้รับการเคารพ กล่าวคือ การถ่ายโอนเทคโนโลยีและฐานความรู้ต้องกระทําในลักษณะที่มีการปกป้องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ข้อมูลของลูกค้าและ ผู้ส่งมอบ ต้องได้รับการปกป้อง

  1. การดำเนินธุรกิจ การโฆษณา และการแข่งขันที่เป็นธรรม

บริษัทฯ มีนโยบายการรักษามาตรฐานของการดําเนินธุรกิจ การโฆษณา และการแข่งขันที่เป็นธรรม

  1. การปกป้องลักษณะบุคคลและการไม่ตอบโต้

บริษัทฯ มีนโยบายมีโครงการคุ้มครองความลับ ความเป็นนิรนาม และการปกป้องซัพพลายเออร์และลูกจ้างที่เป็นผู้ร้องเรียน เว้นแต่จะถูกห้ามโดยกฎหมาย บริษัทฯ มีกระบวนการสื่อสารสําหรับบุคลากรเพื่อให้สามารถแจ้งความกังวลของตนได้โดยปราศจากความกลัวจากการถูกตอบโต้

  1. การหาแหล่งแร่ธาตุโดยมีความรับผิดชอบ

เนื่องจากบริษัทฯ เป็นผู้ให้บริการทำความสะอาดตามหน่วยงานของผู้จ้าง ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตโดยตรง ซึ่งบริษัทฯมีการดําเนินการตรวจสอบสถานะอย่างเคร่งครัดในการหาแหล่งที่มาและลําดับห่วงโซ่ของการคุ้มครองแร่ ธาตุเหล่านี้ และแสดงมาตรฐานการตรวจสอบสถานะที่มีให้แก่ลูกค้าเมื่อลูกค้าร้องขอ

  1. ความเป็นส่วนตัว

บริษัทฯ มีนโยบายและได้ให้คํามั่นในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลตามความคาดหมายและด้วยเหตุผลอันควรของผู้ที่ทําธุรกิจด้วย รวมถึงผู้ส่งมอบ ลูกค้า ผู้บริโภค และพนักงาน บริษัทฯ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายรักษาความปลอดภัยความเป็นส่วนตัวและระเบียบข้อกําหนดในกรณีที่ได้รวบรวม เก็บรักษา ประมวลผล ส่งต่อ และแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคล

E. ระบบบริหารจัดการ

บริษัทฯได้ปฏิบัติ และจัดตั้งระบบการจัดการซึ่งมีขอบข่ายที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของหลักจรรยาบรรณนี้ ระบบการจัดการต้องได้รับการออกแบบขึ้นเพื่อให้ (ก) สอดคล้องกับกฎหมาย ระเบียบ และข้อกําหนดของลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการและผลิตภัณฑ์ของผู้เข้าร่วมที่มีการบังคับใช้ (ข) สอดคล้องกับหลักจรรยาบรรณนี้ และ (ค) ระบุและบรรเทาความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานอันเกี่ยวเนื่องกับหลักจรรยาบรรณนี้ ระบบควรเอื้ออํานวยการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ระบบการจัดการควรมีองค์ประกอบเบื้องต้นต่อไปนี้

  1. คำมั่นสัญญาของบริษัท

บริษัทฯ มีการคําแถลงนโยบายความรับผิดชอบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทเพื่อยืนยันถึงพันธกิจของผู้เข้าร่วมที่ปฏิบัติตนให้สอดคล้องและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้รับการเห็นชอบโดยคณะผู้บริหารและติดประกาศไว้เป็นภาษาท้องถิ่นภายในสถานประกอบการ

  1. ความสํานึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร

บริษัทฯ มีการแต่งตั้งผู้บริหารอาวุโสและผู้แทนของบริษัทที่รับผิดชอบในการนําระบบการจัดการและโครงการที่เกี่ยวข้องมาปฏิบัติ ผู้บริหารอาวุโสทําการทบทวนสถานะของระบบการจัดการเป็นประจํา

  1. ข้อกำหนดทางกฎหมายและข้อกำหนดของลูกค้า

บริษัทฯ มีกระบวนการเพื่อระบุ เฝ้าพินิจ และทําความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย กฏระเบียบ และข้อกําหนดของลูกค้าที่บังคับใช้รวมถึงข้อกําหนดของหลักจรรยาบรรณนี้

  1. การประเมินความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยง

บริษัทฯ มีกระบวนการเพื่อชี้บ่งการปฏิบัติตามกฎหมาย สิ่งแวดล้อม สุขภาพและความปลอดภัย และวิธีปฏิบัติต่อแรงงานและความเสี่ยงต่อจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ บริษัทฯ มีการพิจารณาระดับนัยสําคัญที่เกี่ยวข้องสําหรับความเสี่ยงแต่ละรายการและมีการใช้กระบวนการและการควบคุมทางกายภาพที่เหมาะสมเพื่อควบคุมความเสี่ยงที่ระบุให้เป็นไปตามกฏระเบียบ

  1. วัตถุประสงค์การปรับปรุง

บริษัทฯ มีการกําหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแผนการปฏิบัติอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อปรับปรุงผลการทํางานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของผู้เข้าร่วม รวมถึงการประเมินผลความสําเร็จตามวัตถุประสงค์เป็นระยะ ๆ

  1. การฝึกอบรม

บริษัทฯ มีการจัดอบรมต่อเนื่อง เพื่ออัพเดทข้อมูลให้กับระดับหัวหน้างาน ผู้จัดการฝ่ายและแรงงานเพื่อบังคับใช้นโยบาย กระบวนการทํางาน และวัตถุประสงค์การปรับปรุงของบริษัท และเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อกําหนดที่บังคับใช้

  1. การสื่อสาร

บริษัทฯ มีกระบวนการสื่อสารข้อมูลที่ชัดเจนและถูกต้องเกี่ยวกับนโยบาย แนวปฏิบัติ ความคาดหมาย และผลการทํางานของบริษัท ต่อแรงงาน ผู้ส่งมอบ และลูกค้า

  1. ความคิดเห็นตอบกลับ การมีส่วนร่วม และการร้องทุกข์ของแรงงาน

บริษัทฯ มีกระบวนการอย่างต่อเนื่องซึ่งรวมถึงกลไกการร้องทุกข์ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อประเมินความเข้าใจของพนักงานและรับความคิดเห็นตอบกลับต่อวิธีปฏิบัติและสภาพการทํางานตามที่ครอบคลุมอยู่ในหลักจรรยาบรรณนี้เพื่อส่งเสริมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

  1. การตรวจ ติดตามและประเมิน

บริษัทฯ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการในการรับผิดชอบระบบบริหารการจัดการ เพื่อทําการประเมินตนเองเป็นระยะ ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าได้ดําเนินการตามกฎหมายและระเบียบข้อกําหนด รวมถึงเนื้อหาของหลักจรรยาบรรณและข้อกําหนดของลูกค้าตามที่สัญญาไว้ซึ่งสัมพันธ์กับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

  1. กระบวนการปฏิบัติการแก้ไข

บริษัทฯ มีกระบวนการปฏิบัติการแก้ไขอย่างทันท่วงทีต่อความเสื่อมประสิทธิภาพซึ่งระบุได้จากการประเมินภายในหรือภายนอก การตรวจสอบ การสืบสวน และการทบทวน

  1. การจัดทําเอกสารและบันทึกข้อมล

บริษัทฯ มีการสร้างและรักษาเอกสารและบันทึกข้อมูลเพื่อให้มั่นใจว่าได้ปฏิบัติตามระเบียบและสอดคล้องกับข้อกําหนดของบริษัท พร้อมทั้งการรักษาความลับเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวตามความเหมาะสม

  1. ความรับผิดชอบต่อผู้ส่งมอบ

บริษัทฯ มีกระบวนการเพื่อสื่อสารข้อกําหนดหลักจรรยาบรรณให้แก่ผู้ส่งมอบ และเพื่อเฝ้าพินิจผู้ส่งมอบให้ปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณ

นโยบายของบริษัท

นโยบายเกี่ยวกับการตอบโต้และแก้แค้น

บริษัทไอเอฟเอส ฟาซิลิตี้ เซอร์วิสเซส จำกัด และบริษัทในเครือ สนับสนุนและยินดี ให้มีการแจ้งเบาะแสการกระทำทุจริตใด ๆ ที่ทำให้บริษัทฯ เสื่อมเสียชื่อเสียง หรือศรัทธา หรือความไว้วางใจของลูกค้า หรือผู้มาติดต่อธุรกิจกับบริษัทฯ หรืออาจเกิดความเสียหายทางใดทางหนึ่งต่อบริษัทฯ หากได้รับการแจ้งเบาะแส หรือการร้องทุกข์ผ่านทางช่องทางใดช่องทางหนึ่ง ทางบริษัทฯ จะพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริง ตามระเบียบบริษัทฯ ต่อไป

ดังนั้น ทางบริษัทฯ ขอยืนยันว่า จะไม่ยอมให้มีการตอบโต้และแก้แค้น ต่อผู้ใดก็ตาม ที่รายงานโดยสุจริต ผู้ใดที่เชื่อว่าตนตกอยู่ในสถานการณ์เป็นรูปแบบใดก็ตามของการตอบโต้และแก้แค้นแล้ว ขอให้รายงานเรื่องนี้โดยเร็วที่สุด ต่อฝ่ายบุคคลส่วนกลาง

การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามนโนบายนี้ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานคนใด จะมีการตรวจสอบทางวินัยตามกระบวนการของบริษัทฯ และอาจมีการตักเตือน ลงโทษหรือเลิกจ้าง นอกจากนั้นยังอาจมีการดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญา หากพบว่าเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติโดยเจตนา

มาตรการป้องกัน และยุติการใช้ความรุนแรงในสถานประกอบกิจการ

ความหมายความรุนแรงในสถานประกอบกิจการ

ความรุนแรงในสถานประกอบกิจการ คือ พฤติกรรมหรือการกระทำใด ๆ รวมถึงการข่มขู่ โดยการใช้ความรุนแรง การข่มเหง รบกวน ก่อกวน คุกคาม หรือการขู่ในทุกรูปแบบที่เกิดขึ้นในสถานที่ทำงาน ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

พฤติกรรมที่พึงปฏิบัติเพื่อป้องกันปัญหาการใช้ความรุนแรง

  1. ลูกจ้างทุกคนควรให้เกียรติเพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา และผู้ใต้บังคับบัญชา
  2. ลูกจ้างทุกคนควรลดความเสี่ยงจากปัญหาการใช้ความรุนแรง เช่น ไม่ใช้คำพูดที่เสียดสีกระแทก กระทั้น ล้อเลียน ก้าวร้าว หรือหยาบคายไม่สุภาพ หลีกเลี่ยงการทะเลาะวิวาทกันในที่ทำงาน ไม่พกอาวุธเข้ามาในสถานที่ทำงาน เป็นต้น
  3. ลูกจ้างทุกคนควรช่วยกันสอดส่องและรายงานพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่อาจทำให้เกิดการใช้ความรุนแรงในสถานที่ทำงาน รวมทั้งไม่ควรเพิกเฉยหากมีปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นกับเพื่อนร่วมงาน
  4. ผู้บังคับบัญชาในทุกระดับทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี และมีหน้าที่โดยตรงในการป้องกันปัญหาการใช้ความรุนแรงในสถานประกอบกิจการ

พฤติกรรมที่ไม่พึงปฏิบัติเนื่องจากเข้าข่ายเป็นการใช้ความรุนแรง

  1. การกระทำทางวาจา เช่น การล้อเลียน เสียดสี ข่มขู่ ตะคอก ดูหมิ่น หรือหยาบคาย ที่มีผลกระทบต่อจิตใจและเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
  2. การกระทำทางกาย เช่น การกีดกันหรือจำกัดเสรีภาพ ทะเลาะวิวาท เตะ ต่อย ทุบตีทำร้ายร่างกายกัน เป็นผลให้บุคคลได้รับความกระทบกระเทือนทั้งทางร่างกายและจิตใจ
  3. การกระทำอื่น ๆ เช่น การแสดงรูปภาพ วัตถุ หรือข้อความ ที่เป็นการแสดงออกถึงความรุนแรง และมีผลกระทบต่อร่างกายหรือจิตใจของบุคคลในสถานที่ทำงาน

กระบวนการแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรง

  1. กรณีสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ โดยผู้ถูกกระทำหรือผู้เสียหาย เขียนถึงผู้กระทำเพื่อแจ้งให้ผู้กระทำทราบถึงพฤติกรรมที่ไม่เป็นที่ยอมรับ หรือขอร้องให้หยุดการกระทำดังกล่าว
  2. กรณีไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ ดำเนินการดังนี้

– ร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของผู้กระทำ หลังจากเกิดเหตุการณ์ขึ้น และให้ผู้บังคับบัญชาสอบสวนข้อเท็จจริงภายใน 15 วัน หากไม่ดำเนินการใด ๆ ถือว่าเป็นการละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่

– ร้องเรียนต่อหน่วยงานหรือผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ จัดให้มีการประชุมหารือ เพื่อหาทาง ยุติปัญหา พิจารณาลงโทษผู้กระทำผิด ภายใน 15 วัน

หน่วยรับเรื่องร้องเรียน

  • ผู้บังคับบัญชาทุกระดับของผู้กระทำ
  • ฝ่ายกฎหมาย: ผู้จัดการฝ่ายกฎหมาย
  • ฝ่ายบุคคล: ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ และ เจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมาย
  • ฝ่ายศูนย์รับแจ้งเหตุ และรายงานอุบัติการณ์ ตลอด 24 ชั่วโมง (Control Room)

ช่องทาง/วิธีการร้องเรียน

ท่านสามารถร้องเรียนการกระทำดังกล่าวได้โดยวิธีการ/ช่องทาง ดังนี้

  1. ร้องเรียนด้วยวาจาโดยตรงต่อผู้บังคับบัญชาชั้นต้นของผู้กระทำหรือทางโทรศัพท์ (กรณีไม่สามารถร้องเรียนเป็นลายลักษณ์อักษร)
  2. ร้องเรียนเป็นลายลักษณ์อักษร ถึงผู้บริหาร บริษัท ไอเอฟเอส ฟาซิลิตี้ เซอร์วิสเซส จำกัด และบริษัทในเครือ โดยส่งเอกสารผ่านช่องทางรับเรื่องร้องเรียนช่องทางใดช่องทางหนึ่ง ได้แก่

– กล่องรับเรื่องร้องเรียนของหน่วยงาน

– ทางไปรษณีย์: 365/1 ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220

– ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์: info@ifs-thailand.com

– ทาง Line: @IFSTHAILAND

– ทางศูนย์รับแจ้งเหตุ และรายงานอุบัติการณ์ ตลอด 24 ชั่วโมง: 02-038-5188 ต่อ 3116, 3118

นโยบายการป้องกันและต่อต้านการทุจริต การให้หรือรับสินบน

บริษัท ไอเอฟเอส ฟาซิลิตี้ เซอร์วิสเซส จำกัด และบริษัทในเครือ มีความมุ่งมั่นในดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม และปฏิบัติตามมาตราฐานสูงสุดทางสังคมและจริยธรรมของหลักจรรยาบรรณ ดังนั้น การคอร์รัปชั่นและการติดสินบนหรือการพยายามกระทำการดังกล่าวในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ถือเป็นการขัดต่อค่านิยมหลักขององค์กร และไม่อาจยอมรับให้เกิดขึ้นได้ และข้อพึงปฏิบัติในการทำงานของบริษัทฯ อย่างเคร่งครัดในทุกกิจกรรมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ ปฏิเสธ และต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบทั้งภาครัฐและภาคเอกชน การคอร์รัปชั่นและสินบนที่กล่าวมานี้ หมายรวมถึง การใช้อำนาจหรือหน้าที่โดยทุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือบุคคลอื่น รวมถึงการติดสินบน การกรรโชก การฉ้อโกง การหลอกลวง การสมรู้ร่วมคิด การสมยอมกัน การยักยอกเงิน การฟอกเงิน การให้สัญญา การมอบให้ การยอมรับ การเรียกร้องที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ในลักษณะเป็นการจูงใจให้มีการปฏิบัติใด ๆ ที่ขัดต่อกฏหมายหรือขัดต่อหน้าที่ความรับผิดชอบพนักงานทุกคนจะต้องปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้

(1) การเรียกร้องจัดหาหรือรับสินบนเพื่อประโยชน์ของพนักงานของบริษัทฯ หรือเพื่อประโยชน์ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับตน

(2) การเสนอให้คำมั่นสัญญาหรือให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ภาคเอกชนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือโดยอ้อมในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบริษัท

(3) การใช้อำนาจหน้าที่โดยทุจริต

(4) การสมรู้ร่วมคิด โดยทุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนตนในรูปแบบต่าง ๆ ที่ขัดต่อกฏหมายหรือขัดต่อหน้าที่ความรับผิดชอบ

การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามนโยบายนี้ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานคนใด จะมีการตรวจสอบทางวินัยตามกระบวนการของบริษัทฯ และอาจมีการตักเตือน ลงโทษหรือเลิกจ้าง นอกจากนั้นยังอาจมีการดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญา หากพบว่าเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติโดยเจตนา

นโยบายการป้องกันและต่อต้านการทุจริต การให้หรือรับสินบน

บริษัท ไอเอฟเอส ฟาซิลิตี้ เซอร์วิสเซส จำกัด และบริษัทในเครือ มีความมุ่งมั่นในดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม และปฏิบัติตามมาตราฐานสูงสุดทางสังคมและจริยธรรมของหลักจรรยาบรรณ ดังนั้น การคอร์รัปชั่นและการติดสินบนหรือการพยายามกระทำการดังกล่าวในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ถือเป็นการขัดต่อค่านิยมหลักขององค์กร และไม่อาจยอมรับให้เกิดขึ้นได้ และข้อพึงปฏิบัติในการทำงานของบริษัทฯ อย่างเคร่งครัดในทุกกิจกรรมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ ปฏิเสธ และต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบทั้งภาครัฐและภาคเอกชน การคอร์รัปชั่นและสินบนที่กล่าวมานี้ หมายรวมถึง การใช้อำนาจหรือหน้าที่โดยทุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือบุคคลอื่น รวมถึงการติดสินบน การกรรโชก การฉ้อโกง การหลอกลวง การสมรู้ร่วมคิด การสมยอมกัน การยักยอกเงิน การฟอกเงิน การให้สัญญา การมอบให้ การยอมรับ การเรียกร้องที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ในลักษณะเป็นการจูงใจให้มีการปฏิบัติใด ๆ ที่ขัดต่อกฏหมายหรือขัดต่อหน้าที่ความรับผิดชอบพนักงานทุกคนจะต้องปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้

(1) การเรียกร้องจัดหาหรือรับสินบนเพื่อประโยชน์ของพนักงานของบริษัทฯ หรือเพื่อประโยชน์ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับตน

(2) การเสนอให้คำมั่นสัญญาหรือให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ภาคเอกชนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือโดยอ้อมในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบริษัท

(3) การใช้อำนาจหน้าที่โดยทุจริต

(4) การสมรู้ร่วมคิด โดยทุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนตนในรูปแบบต่าง ๆ ที่ขัดต่อกฏหมายหรือขัดต่อหน้าที่ความรับผิดชอบ

การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามนโยบายนี้ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานคนใด จะมีการตรวจสอบทางวินัยตามกระบวนการของบริษัทฯ และอาจมีการตักเตือน ลงโทษหรือเลิกจ้าง นอกจากนั้นยังอาจมีการดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญา หากพบว่าเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติโดยเจตนา

บททั่วไป

บุคลากรทุกระดับของบริษัทฯ และบริษัทในกลุ่ม รวมถึงลูกจ้าง ตัวแทน บริษัทในเครือ หรือบุคคลใดซึ่งกระทำการเพื่อหรือในนามของนิติบุคคล ไม่ว่าจะมีอำนาจหน้าที่ในการนั้นหรือไม่ก็ตาม ต้องปฏิบัติตามแนวทางที่ได้กำหนดไว้ดังนี้

  1. ปฏิบัติตามนโยบายการป้องกันและต่อต้านการทุจริต การให้หรือรับสินบน จรรยาบรรณธุรกิจ รวมทั้ง กฎ ระเบียบ และข้อบังคับของบริษัทฯ โดยต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการทุจริต คอร์รัปชั่น ในทุกรูปแบบ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
  2. ปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนด้วยความโปร่งใส อันหมายรวมถึงการเตรียมความพร้อมรับการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่จากบริษัทฯ หรือบริษัทในกลุ่ม หรือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดเวลา
  3. ไม่กระทำการใด ๆ ที่เป็นการแสดงถึงเจตนาว่าเป็นการทุจริต คอร์รัปชั่น การให้หรือรับสินบนแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มบริษัทฯ ในเรื่องที่ตนมีหน้าที่รับผิดชอบ ทั้งทางตรงหรือโดยอ้อม เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์แก่องค์กร ตนเอง หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
  4. ห้ามมิให้ กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน ตลอดจนบุคคลที่สาม ที่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทฯ มีการติดสินบน ประกอบด้วย ไม่ให้ เสนอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด หรือจูงใจให้ร่วมดำเนินการใดๆ ทั้งในทางตรงและทางอ้อม อันเป็นการให้ประโยชน์ในการเสนอราคา หรือการสมยอมกันในการเสนอราคา ต่อหน่วยงานของรัฐ อันนำมาซึ่งความได้เปรียบและได้รับผลประโยชน์ตอบแทนบางประการในกระบวนการจัดซื้อ จัดจ้าง หรือการปฏิบัติงานตามสัญญา ทั้งก่อน ระหว่างการเสนอราคา และหลังการทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง หรือเพื่อรักษาผลประโยชน์อื่นใด อันไม่เหมาะสมตามหลักจรรยาบรรณธุรกิจ
  5. ไม่ละเลยหรือเพิกเฉย เมื่อพบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายการทุจริตและคอร์รัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ และบริษัทในกลุ่ม โดยถือเป็นหน้าที่ที่ต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลที่รับผิดชอบได้ทราบ และให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่าง ๆ
  6. ห้ามกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับ รับของขวัญที่มีมูลค่าเกินกว่าปกติตามประเพณีนิยมที่บุคคลทั่วไปพึงปฏิบัติต่อกัน
  7. ห้ามกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับทำธุรกรรมกับบริษัทฯ เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อตนเองและบุคคลที่เกี่ยวโยงกันเว้นแต่เป็นธุรกรรมที่เป็นราคายุติธรรมตามราคาตลาดและเป็นธุรกรรมตามปกติ
  8. ห้ามกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับที่มีส่วนได้เสีย มีส่วนร่วมในการพิจารณาการจัดซื้อจัดจ้างของบริษัทฯ
  9. ให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการดูแลและใช้ทรัพย์สินของบริษัทฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท และไม่นำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวโยงกัน
  10. การจ่ายเงินหรือให้สิ่งของมีค่า หรือบริการ เช่น ของขวัญ ความบันเทิง การท่องเที่ยว ให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อให้บุคคลนั้นกระทำการ หรือละเว้นกระทำการใดๆ อันเป็นการผิดกฎหมาย เป็นการกระทำที่ไม่สมควรปฏิบัติอย่างยิ่ง ทั้งนี้รวมถึงต้องไม่ส่งเสริม หรือมีส่วนร่วมให้บุคคลอื่นมีการกระทำดังกล่าวด้วย

หน้าที่ความรับผิดชอบ

  1. คณะกรรมการบริษัท

พิจารณาและอนุมัตินโยบายการประเมินระบบบริหารความเสี่ยง รวมถึงการให้แนวทางและสนับสนุนการดำเนินการต่างๆ เพื่อลดหรือควบคุมความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นในทุกกิจกรรมของบริษัทฯ เพื่อให้พนักงานทุกระดับของบริษัทฯ เข้าใจ ตระหนักถึง และให้ความสำคัญในเรื่องนี้เสมอ

ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบได้รายงานการกระทำการทุจริตที่ส่งผลกระทบต่อบริษัทฯ คณะกรรมการบริษัทจะทำหน้าที่ให้คำปรึกษา ข้อแนะนำ รวมถึงการพิจารณาบทลงโทษ และร่วมกันหาวิธีแก้ไข ให้แก่คณะกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวหรือเกิดเหตุการณ์ใกล้เคียงซ้ำ

  1. คณะกรรมการตรวจสอบ

2.1 สอบทานระบบรายงานทางการเงินและบัญชี ระบบควบคุมภายใน ระบบตรวจสอบภายในและระบบบริหารความเสี่ยง เพื่อให้มั่นใจว่ามีความถูกต้อง โปร่งใส รัดกุม เหมาะสม ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามมาตรฐานสากล

2.2 รับเรื่องแจ้งเบาะแสการกระทำอันทุจริต / การร้องเรียนที่คนในองค์กรมีส่วนเกี่ยวข้อง และตรวจสอบข้อเท็จจริงตามที่ได้รับแจ้ง และเสนอเรื่องให้คณะกรรมการบริษัทร่วมกันพิจารณาลงโทษ หรือแก้ไขปัญหาดังกล่าว

  1. คณะกรรมการบริษัท

3.1 กำหนดนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น และทบทวนนโยบายฯ ให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของ ลักษณะธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อกำหนดตามกฎหมายในการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบ

3.2 สื่อสาร ฝึกอบรม และส่งเสริมให้พนักงานของบริษัทฯ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้มีความรู้ในเรื่องนโยบายฯ และแนวทางปฏิบัติในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นอยู่เสมอ

3.3 สอบสวน และช่วยเหลือในทุกกระบวนการเพื่อสืบหาข้อเท็จจริงตามที่ได้รับแจ้ง หรือตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการตรวจสอบเมื่อเกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยคณะกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่สามารถมอบหมายให้แก่ทีมผู้บริหารที่เห็นว่าสามารถช่วยดำเนินการในการสืบหาข้อเท็จจริงได้

  1. หน่วยงานตรวจสอบภายใน

4.1 ปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจสอบและสอบทานการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนการตรวจสอบภายในประจำปีที่ผ่านการพิจารณาอนุมัติโดยคณะกรรมการตรวจสอบ โดยเสนอรายงานการตรวจสอบระบบการควบคุมภายในและการประเมินความเสี่ยงเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่นที่ได้พบจากการตรวจสอบ ให้คณะกรรมการตรวจสอบได้รับทราบในทันทีเมื่อเรื่องที่ตรวจพบอาจก่อให้เกิดปัญหาที่ร้ายแรง หากไม่รีบดำเนินการ

4.2 ปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการตรวจสอบได้มอบหมายในเรื่องการตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับองค์กรนอกเหนือจากแผนการตรวจสอบภายในประจำปี

แนวทางปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์

  1. ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดถือประโยชน์ของบริษัทฯ ภายใต้ความถูกต้องตามกฎหมายและจริยธรรม มีความเป็นธรรม โปร่งใส
  2. หลีกเลี่ยงการเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของบริษัทฯ ไม่ประกอบกิจการที่เป็นการแข่งขัน หรือมีลักษณะเดียวกันกับบริษัทฯ
  3. ไม่แสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูล หรือสิ่งใด ๆ ที่ตนรู้เนื่องมาจากตำแหน่งหน้าที่และความรับผิดชอบ
  4. หลีกเลี่ยงการทำงานอื่นนอกเหนือจากการทำงานของบริษัทฯ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่องานในความรับผิดชอบไม่ว่าด้านใด
  5. กำหนดให้กรรมการ ผู้บริหาร ต้องรายงานให้บริษัทฯ ทราบถึงการมีส่วนได้เสียของตน และ/หรือของบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง อันเป็นส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการของบริษัทฯ รวมทั้งต้องรายงานการถือหลักทรัพย์ในบริษัทฯ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
  6. คณะกรรมการและผู้บริหารต้องพิจารณาความขัดแย้งทางผลประโยชน์เกี่ยวกับรายการที่เกี่ยวโยงกันระหว่างบริษัทฯ บริษัทย่อย/บริษัทร่วมอย่างรอบคอบ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต อย่างมีเหตุผลและเป็นอิสระ ภายใต้กรอบจริยธรรมที่ดี โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ และต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งดูแลให้มีการเปิดเผยข้อมูลในเรื่องดังกล่าวอย่างถูกต้องครบถ้วน

แนวทางปฏิบัติในการซื้อขายหลักทรัพย์ และการใช้ข้อมูลภายใน

  1. ในการจัดทำ เก็บรักษา หรือเปิดเผยข้อมูลภายใน ต้องดำเนินการอย่างเหมาะสม และถูกต้องตามข้อกำหนดของกฎหมาย โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียโดยรวม
  2. ไม่นำข้อมูลภายในอันเป็นข้อมูลในการดำเนินการและบริหารกิจการที่ตนล่วงรู้มาจากการปฏิบัติหน้าที่ของตน ไปใช้แสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือบุคคลอื่นโดยมิชอบ
  3. กรรมการและผู้บริหารควรหลีกเลี่ยงการซื้อขายหลักรัพย์ของบริษัทฯ ในระยะเวลา 21 วัน ก่อนการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานทางการเงินประจำปี หรือรายไตรมาส จนถึง 24 ชั่วโมงหลังจากการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะแล้ว
  4. กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ต้องไม่เปิดเผยข้อมูลที่ยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ และไม่ซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทเมื่อทราบข้อมูลที่ยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ

แนวทางปฏิบัติด้านการจัดซื้อ/จัดหา

  1. การจัดซื้อ/จัดหาต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์หรือขั้นตอนที่กำหนดไว้ในระเบียบการจัดซื้อ/จัดหา และสอดคล้องกับอำนาจดำเนินการ มีความเป็นธรรมแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการตัดสินใจต้องคำนึงถึงความสมเหตุสมผลด้านราคา คุณภาพ และบริการที่ได้รับ รวมทั้งคำนึงถึงมาตรฐานต่าง ๆ ที่ผู้ขายสินค้าหรือบริการพึงมี เช่น มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม มาตรฐานอุตสาหกรรม เป็นต้น
  2. ผู้จัดซื้อ/จัดหาจะต้องไม่ประกอบธุรกิจ ซึ่งอาจนำผลประโยชน์มาสู่ตนโดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่ในการจัดซื้อ/จัดหา ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
  3. ไม่ใช้ข้อมูลที่ได้ทราบอันเนื่องมาจากการจัดซื้อ/จัดหา เพื่อประโยชน์ส่วนตัวหรือผู้อื่น
  4. ห้ามมิให้ กรรมการบริษัท ผู้บริหาร พนักงาน ตลอดจนบุคคลที่สาม ที่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทฯ มีการติดสินบน ประกอบด้วย ไม่ให้ เสนอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด หรือจูงใจให้ร่วมดำเนินการใด ๆ ทั้งในทางตรงและทางอ้อม อันเป็นการให้ประโยชน์ในการเสนอราคา หรือการสมยอมกันในการเสนอราคา ต่อหน่วยงานของรัฐ อันนำมาซึ่งความได้เปรียบและได้รับผลประโยชน์ตอบแทนบางประการในกระบวนการจัดซื้อ จัดจ้าง หรือการปฏิบัติงานตามสัญญา ทั้งก่อน ระหว่างการเสนอราคา และหลังการทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง หรือเพื่อรักษาผลประโยชน์อื่นใด อันไม่เหมาะสมตามหลักจรรยาบรรณธุรกิจ โดยการทุจริตในรูปแบบต่าง ๆ ประกอบด้วย การช่วยเหลือทางการเมือง การบริจาคเพื่อการกุศล เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจของบริษัท เงินสนับสนุนมีวัตถุประสงค์เพื่อธุรกิจที่ก่อให้เกิดความได้เปรียบต่อธุรกิจของบริษัท และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่อาจเป็นช่องทางให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกระทำการทุจริต เช่น ค่าของขวัญ ค่าต้อนรับลูกค้า ซึ่งทำให้เกิดการใช้อำนาจอย่างไม่ถูกต้อง เช่น การให้สินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐ การให้ของขวัญหรือบริการ การให้เงินสดหรือสิ่งของทดแทนเงินสด และการสมยอมกันในการเสนอราคา

แนวทางปฏิบัติต่อหน่วยงานราชการ

  1. ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
  2. การทำธุรกรรมกับรัฐ เมื่อติดต่อกับเจ้าหน้าที่ ต้องมีการดำเนินการอย่างถูกต้อง ตรงไปตรงมา ไม่กระทำการใด ๆ ที่อาจ จูงใจให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการหรือละเว้นดำเนินการ
  3. การทำความรู้จักหรือการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันตามวาระโอกาส เทศกาล หรือตามประเพณีปฏิบัติ หากอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสมสามารถกระทำได้
  4. การให้การสนับสนุนกิจกรรมของราชการ การบริจาคทรัพย์สิน สามารถทำได้โดยผ่านกระบวนการขออนุมัติที่ถูกต้องโปร่งใส และภายในวงเงินที่เหมาะสม

แนวทางปฏิบัติในการรับหรือให้ของขวัญ ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดที่อาจสร้างแรงจูงใจในการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง

  1. ค่าของขวัญ หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมของบริษัทเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีหรือบางโอกาส ถือเป็นการแสดงออกของมารยาททางสังคม ซึ่งค่าของขวัญอาจอยู่ในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น เงิน สินค้า บริการ บัตรกำนัล เป็นต้น ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวอาจถือเป็นสินบนหากเป็นการให้เพื่อจูงใจเจ้าหน้าที่ของรัฐให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่
  2. ไม่พึงรับหรือให้การเลี้ยงรับรอง ของขวัญ/ของที่ระลึก และค่าใช้จ่ายอื่นใด ที่เกินความจำเป็นและไม่เหมาะสมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลที่ทำธุรกิจกับบริษัทฯ ทั้งนี้การรับและให้ดังกล่าวที่เป็นไปตามธรรมเนียมปฏิบัติ ตามประเพณี วัฒนธรรม หรือมารยาททางสังคม ถือเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ แต่ต้องสมเหตุสมผล มีความเหมาะสม เป็นไปตามนโยบาย ระเบียบ และธรรมเนียมปฏิบัติตามประเพณีในแต่ละโอกาส โดยเก็บรักษาหลักฐานการใช้จ่ายเงิน มีการบันทึกค่าใช้จ่ายตามที่ได้ใช้จ่ายจริง และมีใบเสร็จหรือหลักฐานรับรอง เพื่อตรวจสอบได้ในภายหลัง
  3. ไม่เรียกรับหรือให้เงิน ทรัพย์สิน สิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใด กับผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจ ที่อาจทำให้เกิดอิทธิพลในการตัดสินใจอย่างหนึ่งอย่างใดโดยไม่เป็นธรรม หรือมีเจตนาเพื่อชักนำให้กระทำ หรือละเว้นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง หรือเพื่อแลกเปลี่ยนกับสิทธิพิเศษที่ไม่พึงได้

แนวทางปฏิบัติในเรื่องการเลี้ยงรับรอง

  1. ค่ารับรอง หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมของบริษัทเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีหรือบางโอกาส ถือเป็นการแสดงออกของมารยาททางสังคม ซึ่งค่ารับรองอาจรวมถึง ค่าที่พัก ค่าโดยสารสำหรับการเยี่ยมชมสถานที่ประกอบการ หรือการศึกษาดูงาน ค่าอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวอาจถือเป็นสินบนหากเป็นการให้เพื่อจูงใจเจ้าหน้าที่ของรัฐให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่
  2. ห้ามมิให้มีการเลี้ยงรับรองต่อหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละโอกาสมูลค่าเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด และค่าใช้จ่ายดังกล่าวต้องไม่ได้เป็นการจ่ายเพื่อจูงใจให้เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือการตัดสินใจใดๆ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจของบริษัท ทั้งนี้ ต้องมีการบันทึกค่าใช้จ่ายตามที่ได้ใช้จ่ายจริงและมีใบเสร็จหรือหลักฐานรับรอง
  3. ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงรับรองโดยมารยาททางธุรกิจ ควรถูกใช้อย่างเหมาะสม และเป็นค่าใช้จ่ายตามจริง ทั้งนี้ ให้รายงาน และ/หรือดำเนินการขออนุมัติต่อผู้บังคับของแต่ละสายงานตามตารางอำนาจอนุมัติ
  4. การเบิกค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงรับรองจะต้องไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายของบุคคลในครอบครัวของพนักงาน

แนวทางปฏิบัติในเรื่องค่าอำนวยความสะดวก

  1. ค่าอำนวยความสะดวก หมายถึง ค่าใช้จ่ายจำนวนเล็กน้อยที่จ่ายแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างไม่เป็นทางการ และเป็นการให้เพียงเพื่อให้มั่นใจว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐจะดำเนินการตามกระบวนการ หรือเป็นการกระตุ้นให้ดำเนินการรวดเร็วขึ้น โดยกระบวนการนั้นไม่ต้องอาศัยดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐ และเป็นการกระทำอันชอบด้วยหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐผู้นั้น รวมทั้งเป็นสิทธิที่บริษัทฯ พึงจะได้ตามกฎหมายอยู่แล้ว เช่น การขอใบอนุญาต การขอหนังสือรับรอง และการได้รับการบริการสาธารณะ เป็นต้น
  2. บริษัทฯ ไม่มีนโยบายจ่ายเงินค่าอำนวยความสะดวก อย่างไรก็ตาม การจ่ายเงินค่าอำนวยความสะดวกสามารถกระทำได้ในกรณีที่พนักงานตกอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นภัยคุกคามต่อร่างกายหรือเชื่อว่าชีวิตของตนเองกำลังตกอยู่ในอันตราย โดยเมื่อทำการจ่ายเงินดังกล่าว จะต้องจัดทำเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษร และส่งให้ผู้บังคับบัญชาสอบทาน ทั้งนี้ วัตถุประสงค์และลักษณะของการจ่ายเงินดังกล่าวจะต้องได้รับการบันทึกข้อมูลไว้อย่างถูกต้อง

แนวทางปฏิบัติในการบริจาคเพื่อการกุศลและการให้เงินสนับสนุน

  1. บริษัทฯ สนับสนุนการบริจาคเพื่อการกุศล และการให้เงินสนับสนุนในการพัฒนาชุมชนและสังคม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างเศรษฐกิจ และความเข้มแข็งให้กับชุมชนและสังคม โดยการบริจาคเพื่อการกุศล และการให้เงินสนับสนุน ต่อองค์กรการกุศลหรือหน่วยงานอื่นๆ มีขั้นตอนพิจารณาและอนุมัติโดยคณะกรรมการบริษัท หรือผู้ที่มีอำนาจของบริษัท ซึ่งจะต้องจัดทำใบบันทึกคำขอ ระบุชื่อผู้รับบริจาค/ผู้รับการสนับสนุน และวัตถุประสงค์ของการบริจาค/สนับสนุนพร้อมแนบเอกสารประกอบทั้งหมดเสนอให้ผู้มีอำนาจอนุมัติของบริษัทฯ พิจารณาอนุมัติตามระดับอำนาจอนุมัติของบริษัท โดยมีกระบวนการตรวจสอบ การติดตาม รวมทั้งมีหลักฐานหรือหนังสือตอบรับจากหน่วยงานที่ได้รับเงินบริจาคหรือเงินสนับสนุน เพื่อให้การใช้เงินเป็นไปตามวัตถุประสงค์
  2. การเป็นผู้ให้การสนับสนุนเป็นวิธีการประชาสัมพันธ์ธุรกิจของบริษัทวิธีหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากการบริจาคเพื่อการกุศล โดยอาจกระทำได้ในหลายรูปแบบ เช่น การสนับสนุนกิจกรรมทางวัฒนธรรม ศิลปะ การศึกษา เป็นต้น
  3. พนักงานต้องมีความระมัดระวังเพื่อให้มั่นใจว่าการบริจาคเพื่อการกุศลและการเป็นผู้ให้การสนับสนุนจะไม่ถูกนำไปใช้เป็นวิธีการหลีกเลี่ยงในการให้สินบน ตลอดจนต้องดำเนินการอย่างโปร่งใสและป็นไปตามกฎหมายที่ใช้บังคับ

แนวทางปฏิบัติด้านการสนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง

  1. การสนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง หมายถึง การสนับสนุนทั้งที่เป็นตัวเงินหรือมิใช่ตัวเงินแก่พรรคการเมือง นักการเมือง หรือผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งทางการเมือง การสนับสนุนที่มิใช่ตัวเงินจะรวมถึงการให้ยืม หรือบริจาคอุปกรณ์ การให้บริการด้านเทคโนโลยีโดยไม่คิดค่าบริการ รวมทั้งการสละเวลาทำงานของพนักงาน
  2. บริษัทฯ ไม่มีแนวปฏิบัติที่จะให้การช่วยเหลือ การสนับสนุน หรือเป็นตัวแทนพรรคการเมือง ในกิจกรรมสาธารณะต่าง ๆ ไม่ว่าทางด้านการเงิน หรือรูปแบบอื่นใด รวมถึงไม่กระทำการใดที่จะทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าบริษัทฯ เกี่ยวข้องหรือฝักใฝ่ทางการเมือง หรือพรรคการเมือง หรือผู้ใดที่มีอำนาจทางการเมือง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
  3. ในกรณีที่บริษัทฯ มีความประสงค์ที่จะให้การสนับสนุนทางการเมืองเพื่อส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย การสนับสนุนดังกล่าวจะต้องไม่ขัดต่อหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือกระทำไปด้วยความคาดหวังที่จะได้รับการปฏิบัติตอบแทนเป็นพิเศษ ทั้งนี้ ในการสนับสนุนจะต้องจัดทำใบบันทึกคำขอ ระบุชื่อผู้รับการสนับสนุนและวัตถุประสงค์ของการสนับสนุนพร้อมแนบเอกสารประกอบทั้งหมดเสนอให้คณะกรรมการบริหารพิจารณาอนุมัติ
  4. กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน มีสิทธิและเสรีภาพทางการเมืองตามกฎหมาย แต่จะไม่ดำเนินการใด ๆ ที่ทำให้ บริษัทฯ สูญเสียความเป็นกลางหรือได้รับความเสียหายจากการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องทางการเมือง
  5. กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน จะไม่ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองภายในบริษัทฯ รวมถึงใช้ทรัพยากรใด ๆ ของ บริษัทฯ เพื่อดำเนินการดังกล่าว

แนวทางปฏิบัติด้านการอบรมและการสื่อสาร

ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนจะได้รับการอบรมเกี่ยวกับการต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชั่นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ตระหนักถึงนโยบายฉบับนี้ โดยเฉพาะรูปแบบต่าง ๆ ของการให้สินบน ความเสี่ยงจากการเข้าไปมีส่วนร่วมในการให้สินบน ตลอดจนวิธีการรายงานกรณีพบเห็นหรือสงสัยว่าจะมีการให้สินบนหรือคอร์รัปชั่น

พนักงานทุกคนจะได้รับสำเนานโยบายฉบับนี้ เพื่อช่วยให้มั่นใจว่าได้รับทราบและเข้าใจถึงนโยบายของบริษัทในการต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชั่น นอกจากนี้ ยังสามารถหาอ่านนโยบาย รวมทั้งข้อมูลที่ปรับปรุงแก้ไขได้จากเว็บไซต์ของบริษัท info@ifs-thailand.com ซึ่งบริษัทฯ จะแจ้งให้พนักงานทราบหากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่สำคัญ

การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายฉบับนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งของการปฐมนิเทศหรือก่อนการเข้ารับตำแหน่งของพนักงานใหม่ทุกคนของบริษัทฯ

ช่องทางการแจ้งเบาะแส/ข้อร้องเรียนและมาตรการคุ้มครองผู้รายงาน

บริษัทฯ จัดให้มีช่องทางในการรายงาน หากพบเห็นการฝ่าฝืนหรือพบเห็นการกระทำทุจริตและคอร์รัปชั่น โดยกำหนดกระบวนการพิจารณา รวมทั้งจัดให้มีมาตรการคุ้มครองและบรรเทาความเสียหายให้กับผู้รายงานหรือผู้ร้องเรียน ตามนโยบายการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนการทุจริตต่อหน้าที่ที่บริษัทฯ กำหนดไว้

บทลงโทษ

หากมีการฝ่าฝืนหรือกระทำผิดตามนโยบายและแนวทางปฏิบัติดังนี้

  1. แนวทางปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
  2. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  3. แนวทางปฏิบัติในการซื้อขายหลักทรัพย์ และการใช้ข้อมูลภายใน
  4. แนวทางปฏิบัติด้านการจัดซื้อ/จัดหา
  5. แนวทางปฏิบัติต่อหน่วยงานราชการ
  6. แนวทางปฏิบัติในการรับหรือให้ของขวัญ ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดที่อาจสร้างแรงจูงใจในการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง
  7. แนวทางปฏิบัติในเรื่องการเลี้ยงรับรอง
  8. แนวทางปฏิบัติในเรื่องค่าอำนวยความสะดวก
  9. แนวทางปฏิบัติในการบริจาคเพื่อการกุศลและการให้เงินสนับสนุน
  10. แนวทางปฏิบัติด้านการสนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง
  11. แนวทางปฏิบัติด้านการอบรมและการสื่อสาร

จะต้องได้รับการพิจารณาทางวินัยและบทลงโทษตามระเบียบข้อบังคับในการทำงานของบริษัทฯ กำหนดไว้ และต้องรับผิดชอบชดใช้ความเสียหายแก่บริษัทฯ หรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำดังกล่าว และอาจได้รับโทษตามกฎหมายหากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย

นโยบายการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนการทุจริต

ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีในเรื่องบทบาทต่อผู้มีส่วนได้เสีย คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัตินโยบายการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนการทุจริตต่อหน้าที่ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้บริษัทฯ ได้รับทราบเรื่องร้องเรียนการกระทำผิดกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับในการทำงาน และจรรยาบรรณการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ อันนำมาซึ่งความเสื่อมเสียในทรัพย์สินและชื่อเสียงของบริษัทฯ ทั้งจากพนักงานภายในและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ซึ่งบริษัทฯ สนับสนุนให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการทุจริตให้สินบน และพนักงาน หรือผู้มีความเกี่ยวข้องทางธุรกิจจะไม่ถูกกลั่นแกล้งอันเนื่องมาจากการรายงานข้อมูลโดยสุจริต โดยกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติการร้องเรียน/แจ้งเบาะแส ดังนี้

การสื่อสารและการเปิดเผยข้อมูลนโยบายการแจ้งเบาะแส/ข้อร้องเรียน

ให้ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์สื่อสารทำความเข้าใจให้กรรมการบริษัท ผู้บริหาร พนักงาน หรือผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ได้รับทราบเรื่องนโยบายการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน และกระบวนการพิจารณา ตลอดจนช่องทางการแจ้งเบาะแส/ข้อร้องเรียน รวมทั้งให้เปิดเผยข้อมูลนโยบายการแจ้งเบาะแส/ข้อร้องเรียน ผ่านทางช่องทางต่าง ๆ ได้แก่ ประชุมผู้บริหารประจำเดือน และบนเว็บไซต์ของบริษัทฯ

การแจ้งเบาะแส/ข้อร้องเรียน

  1. ให้กรรมการบริษัท ผู้บริหาร พนักงาน หรือผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ที่พบเห็นการกระทำผิดจรรยาบรรณการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ สามารถติดต่อแจ้งเบาะแส/ข้อร้องเรียน ต่อประธานคณะกรรมการตรวจสอบ หรือหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียน หรือฝ่ายทรัพยากรมนุษย์
  2. การแจ้งเบาะแส/ข้อร้องเรียน ให้ระบุ ชื่อ-สกุล และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ร้องเรียน รายละเอียดข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน พร้อมทั้งแนบหลักฐานต่าง ๆ (ถ้ามี) ทั้งนี้ บริษัทฯ จะเก็บข้อมูลของผู้ร้องเรียนเป็นความลับ กรณีผู้ร้องเรียนไม่เปิดเผย ชื่อ-สกุล ในการร้องเรียน จะต้องระบุรายละเอียดข้อเท็จจริง หรือหลักฐานที่ปรากฏชัดแจ้งเพียงพอที่แสดงให้เห็นถึงการกระทำทุจริต
  3. การแจ้งเบาะแส/ข้อร้องเรียน ให้กระทำผ่านช่องทางการแจ้งเบาะแส/ข้อร้องเรียนที่จัดไว้ ดังนี้

3.1 จดหมายมาถึงกรรมการบริษัท หรือ ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์

บริษัท ไอเอฟเอส ฟาซิลิตี้ เซอร์วิสเซส จำกัด

365/1 ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย 10220

โทร : 02 552 5015 แฟกซ์ : 02 972 3877
3.2 แจ้งผ่านช่องทางอีเมล์ของผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ หรือหน่วยงานที่ดูแลรับเรื่องร้องเรียนที่ info@ifs-thailand.com

3.3 ทางศูนย์รับแจ้งเหตุ และรายงานอุบัติการณ์ ตลอด 24 ชั่วโมง: 02-038-5188 ต่อ 3116, 3118

3.4 ทาง Line: @IFSTHAILAND

กระบวนการพิจารณาตามนโยบายการแจ้งเบาะแส/ข้อร้องเรียน

เมื่อได้รับเรื่องที่กรรมการบริษัท ผู้บริหาร พนักงาน หรือผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม แจ้งเบาะแส/ข้อร้องเรียนว่าอาจมีการกระทำทุจริตต่อหน้าที่ กำหนดให้มีกระบวนการดำเนินการพิจารณา ดังนี้

  1. ผู้รับข้อร้องเรียนรวบรวมข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต การฝ่าฝืน หรือการไม่ปฏิบัติตามจริยธรรม
  2. ผู้รับข้อร้องเรียนรายงานข้อเท็จจริงต่อกรรมการอิสระ ปฏิบัติหน้าที่สอบสวนข้อเท็จจริง เพื่อพิจารณาการร้องเรียน ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน โดยแยกแยะเรื่องที่เกี่ยวข้องออกเป็นประเด็น ด้านการบริหารจัดการ ด้านการพัฒนาความรู้ การตรวจสอบข้อเท็จจริง เป็นต้น
  3. มาตรการดำเนินการ ผู้รับข้อร้องเรียนนำเสนอกรรมการอิสระเพื่อสอบสวนข้อเท็จจริง และกำหนด มาตรการดำเนินการเพื่อระงับการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
  4. พิจารณากระบวนการลงโทษทางวินัยกับผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นและระเบียบข้อบังคับในการทำงาน ตามที่บริษัทฯ เห็นสมควร รวมทั้งพิจารณาการดำเนินการบรรเทาความเสียหายให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ
  5. การรายงานผล ผู้รับข้อร้องเรียนมีหน้าที่แจ้งผลให้ผู้ร้องเรียนทราบหากผู้ร้องเรียนเปิดเผยตนเอง ในกรณีที่เป็นเรื่องสำคัญ ให้รายงานผลต่อประธานกรรมการ และ/หรือคณะกรรมการบริษัททราบ

มาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส/ข้อร้องเรียน

  1. ผู้ร้องเรียนหรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง สามารถเลือกที่จะไม่เปิดเผยตนเองได้หากเห็นว่าการเปิดเผยนั้นจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยหรือเกิดความเสียหายใด ๆ แต่หากมีการเปิดเผยตนเอง ก็จะทำให้องค์กรสามารถรายงานความคืบหน้าและชี้แจงข้อเท็จจริงให้ทราบ หรือบรรเทาความเสียหายได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
  2. ผู้ร้องเรียนหรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง บริษัทฯ จะไม่เปิดเผยชื่อ-สกุล ที่อยู่ ภาพ หรือข้อมูลอื่นใดที่สามารถระบุตัวผู้แจ้งได้ ยกเว้นแต่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ
  3. ผู้รับข้อร้องเรียน จะเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้เป็นความลับ/คำนึงถึงความปลอดภัย โดยได้กำหนด มาตรการคุ้มครองพนักงานที่ร้องเรียน และ/หรือผู้ที่ให้ข้อมูล และ/หรือความร่วมมือในการตรวจสอบข้อมูล โดยจะได้รับความคุ้มครองจากการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม เช่น การเปลี่ยนตำแหน่งงาน ลักษณะงาน สถานที่ทำงาน สั่งพักงาน ข่มขู่ รบกวนการปฏิบัติงาน เลิกจ้าง อันเนื่องมาจากสาเหตุแห่งการร้องเรียน
  4. กรณีที่ผู้ร้องเรียนแจ้งเบาะแสการประพฤติผิดหรือข้อร้องเรียนและผู้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงเห็นว่าตนอาจได้รับความไม่ปลอดภัยหรืออาจเกิดความเดือดร้อนเสียหาย ผู้แจ้งเบาะแสการประพฤติผิดหรือข้อร้องเรียนและผู้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงสามารถร้องขอให้บริษัทฯกำหนดมาตรการคุ้มครองที่เหมาะสมก็ได้ หรือบริษัทฯ อาจกำหนดมาตรการคุ้มครองโดยผู้แจ้งเบาะแสการประพฤติผิดหรือข้อร้องเรียนและผู้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงไม่ต้องร้องขอก็ได้หากเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีแนวโน้มที่จะเกิดความเดือดร้อนเสียหายหรือความไม่ปลอดภัย
  5. ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจะได้รับการบรรเทาความเสียหายด้วยกระบวนการที่มีความ เหมาะสม และเป็นธรรม

แนวทางปฏิบัติของบริษัท สำหรับพนักงาน

  • พนักงานต้องปฏิบัติตามข้อบังคับการทำงาน และตามที่กฎหมายกำหนด
  • พนักงานจะต้องปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ มีคุณภาพ และมีความรับผิดชอบ
  • พนักงานต้องปฏิบัติต่อลูกค้า เพื่อนร่วมงาน และหุ้นส่วนทางธุรกิจต่าง ๆ อย่างถูกต้องและเหมาะสม
  • ห้ามกระทำการล่วงละเมิดใด ๆ รวมถึงการล่วงละเมิดทางเพศ
  • พนักงานต้องไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอันเป็นการล่วงละเมิดผู้อื่นนำไปหาประโยชน์ส่วนตัว และทำให้ผู้อื่นเสียหาย
  • ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือเสพสารเสพติดทุกชนิดในระหว่างปฏิบัติงานและในเขตพื้นที่ของบริษัทฯ หรือในพื้นที่หน่วยงาน
  • พนักงานทุกคนมีบทบาทในการดูแลรักษาที่ทำงานให้ปราศจากการเลือกปฏิบัติ, การคุกคาม หรือการตอบโต้เอาคืนทีขัดต่อกฎหมาย หากท่านเชื่อว่าตนเองถูกเลือกปฏิบัติ, ถูกคุกคาม หรือถูกตอบโต้เอาคืน

แนวทางปฏิบัติของบริษัท สำหรับลูกค้า คู่ค้า

  • บริษัทฯ แจ้งให้ทางคู่ค้า และลูกค้าทราบเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติของบริษัทฯ ผ่านช่องทางที่เหมาะสม
  • บริษัทฯ ส่งมอบงานบริการตามมาตรฐานที่บริษัทฯ กำหนด ทั้งด้านคุณภาพ สุขอนามัย และความปลอดภัยในหน่วยงาน
  • ข้อมูลต่าง ๆ ของลูกค้าต้องเก็บเป็นความลับ
  • คำร้องต่าง ๆ ถือเป็นสิ่งสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ
  • บริษัทฯ มีการประเมินการจัดซื้อ และการส่งมอบบริการ โดยพิจารณาจาก คุณภาพ ประสิทธิภาพ สิ่งแวดล้อม และพนักงาน
  • บริษัทฯ ดำเนินงานภายใต้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าและกฎระเบียบต่าง ๆ ที่บริษัทฯ กำหนดไว้ บริษัทฯ จะไม่ร่วม หรือหารือกับคู่แข่งในเรื่องการแข่งขันใด ๆ (อาทิเช่น การวางแผนเรื่องราคา การจัดสรรงานบริการ ส่วนแบ่งทางการขาย ส่วนแบ่งทางการตลาด การกำหนดราคาประมูล การแลกเปลี่ยนข้อมูล การลดราคา โบนัส ฯลฯ)
  • บริษัทฯ ยึดถือมาตรฐานความซื่อสัตย์ขั้นสูงสุดในทุกการดำเนินการทางธุรกิจ บริษัทฯ มีนโยบายไม่ประนีประนอมต่อการทุจริตโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการติดสินบน การคอรัปชั่น การรีดไถ และการฉ้อฉลในทุกรูปแบบ รวมถึงไม่รับของขวัญ หรือของกำนัลใด ๆ จากหุ้นส่วนธุรกิจ ยกเว้นกรณีเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในพื้นที่นั้น โดยต้องมีมูลค่าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

แนวทางปฏิบัติของบริษัทต่อสังคม

  • บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการเสริมสร้างสถานที่ทำงานที่ปลอดภัย ปกป้องสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นเพื่อนบ้านที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนที่เราดำเนินธุรกิจอยู่ พนักงานและผู้รับจ้างของบริษัทฯ ทั้งหมดต้องทำงานอย่างปลอดภัย และแน่ใจว่าได้นำข้อกำหนดด้านความปลอดภัยสุขอนามัย และสิ่งแวดล้อมไปใช้ในการทำงานประจำวัน โครงการ และโปรแกรมต่าง ๆ
  • บริษัทฯ เคารพในสิทธิของพนักงานทุกคน ที่จะก่อตั้ง หรือเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มพนักงานตามความต้องการรวมทั้งเคารพในสิทธิการเจรจาต่อรองของกลุ่มพนักงานดังกล่าวกรณีสิทธิด้านเสรีภาพในการสมาคมหรือการรวมกลุ่มเจรจาต่อรองถูกจำกัดภายใต้กรอบของกฎหมาย บริษัทฯ จะเอื้ออำนวยให้พนักงานทั้งหมดได้ใช้วิธีการอื่นทดแทนในการสมาคม และรวมกลุ่มเจรจาต่อรองได้อย่างอิสระ บริษัทฯ จะให้การรับรองว่าผู้แทนพนักงานที่ได้รับการสรรหา คัดเลือก จากฝ่ายพนักงานจะได้รับการอำนวยความสะดวก และได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกับพนักงานคนอื่น ๆ
  • บริษัทฯ มีนโยบายให้ความเสมอภาค ไม่กีดกัน และไม่เลือกปฏิบัติในการจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งรวมถึง การสรรหา และคัดเลือกบุคลากร การจ่ายค่าจ้าง/เงินเดือน การให้ผลประโยชน์ตอบแทนการทำงาน และการจัดสวัสดิการต่างๆ ให้แก่พนักงาน การโยกย้ายงาน การพิจารณาเลื่อนตำแหน่งงาน การดำเนินการทางวินัย การพัฒนา และฝึกอบรม การเลิกจ้าง การลาออก การเกษียณอายุการทำงาน และกิจกรรมทางสังคม ดังนั้นการพิจารณาและการตัดสินใจดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ดังกล่าวข้างต้น จะต้องกระทำโดยปราศจากเลือกปฏิบัติ หรืออคติเพราะเหตุแห่งอายุ เชื้อชาติ สีผิว วงศ์ตระกูล เชื้อสายเผ่าพันธุ์ ชาติกำเนิด ความพิการทางร่างกาย หรือทางจิตใจ สภาวะทางการแพทย์ ข้อมูลทางพันธุกรรม สถานภาพสมรส เพศ (ซึ่งรวมถึงภาวการณ์ตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าจะตั้งครรภ์ การคลอดบุตร การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง) เพศสภาพ การแสดงออก หรืออัตลักษณ์ทางเพศ รสนิยมทางเพศ การนับถือลัทธิความเชื่อทางศาสนา ทัศนคติทางการเมืองสถานภาพทางการทหาร และทหารผ่านศึกอยู่ในระหว่างการยื่นเรื่อง หรือการลาโดยชอบด้วยกฎหมาย อยู่ในระหว่างการยื่นเรื่อง หรือการรับความช่วยเหลือที่สมเหตุสมผล หรือผู้ได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมายในกรณีอื่น ๆ หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน และไม่ได้มีผลกระทบต่อบริษัทฯ
  • บริษัทฯ ไม่มีการบังคับใช้แรงงาน ไม่จ้างพนักงานที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี และให้อิสระที่จะลาออกจากงานได้ตามกฎระเบียบบริษัทฯ บริษัทฯ จะไม่เกี่ยวข้องหรือสนับสนุนใช้แรงงานที่เกิดจากการบังคับหรือไม่สมัครใจในทุกรูปแบบ และจะไม่กำหนด ให้บุคลากรวางเงินประกัน หลักประกัน หรือเอกสารแสดงตนใด ๆ ในการเข้าทำงานบริษัทฯ เว้นแต่กฎหมายกำหนดไว้
  • บริษัทฯ จ่ายค่าจ้างสำหรับการทำงานในอัตราที่ไม่น้อยกว่ามาตรฐานขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด โดยจะพิจารณาถึงความเพียงพอ ขั้นพื้นฐานของบุคลากร และให้มีรายได้เหลือพอสมควร โดยบริษัทฯ จะจ้างค่าจ้าง และค่าตอบแทนการทำงานเป็นสกุลเงินไทย เมื่อถึงกำหนดการจ่ายในแต่ละงวด โดยจะไม่มีการหักค่าจ้าง และค่าตอบแทนการทำงาน หรือเงินได้ประเภทอื่น ๆ ที่ไม่เข้าข้อยกเว้นตามที่กฎหมายกำหนด โดยพนักงานจะได้รับการชี้แจง และรับทราบรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการจ่ายเงินดังกล่าว ในแต่ะงวดเป็นลายลักษณ์อักษรจนเป็นที่เข้าใจ
  • บริษัทฯ สนับสนุนพนักงานให้ได้รับการอบรมเพิ่มพูนความรู้ที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ที่พนักงานต้องปฏิบัติและบริษัทฯ สนับสนุนพนักงานที่ประพฤติตนดี
  • บริษัทฯ จะจัดให้พนักงานหญิงมีครรภ์ มีสภาพการทำงาน และสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยต่อการมีครรภ์ บริษัทฯ ไม่มีนโยบายที่จะเลิกจ้าง ลดตำแหน่ง หรือลดสิทธิประโยชน์ของพนักงานหญิงอันเนื่องมาจากการมีครรภ์

ในฐานะ บริษัทไอเอฟเอส มีความมุ่งมั่น ดังนี้

  • ดำเนินการ และปรับปรุงระบบการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง ให้สอดคล้องกับกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับขอท้องถิ่น รวมถึงมาตรฐานอื่น ๆ ทั้งภายใน และภายนอกองค์กร ซึ่งเราได้ลงนามเป็นสมาชิก
  • ปรับปรุงผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัย สุขอนามัย และสิ่งแวดล้อมที่วัดผลได้ และความยืดหยุ่นในการปฏิบัติการที่ยั่งยืนในการตอบสนองเหตุการณ์ที่ไม่ได้วางแผนมาก่อน
  • คุ้มครองความปลอดภัย และสุขภาพของทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการของเรา โดยการระบุและขจัดสาเหตุของอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ และความเจ็บป่วย
  • ส่งเสริมรูปแบบการใช้ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ และสนับสนุนให้พนักงานดูแลรักษาสุขภาพของตนเองอย่างแข็งขัน
  • สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยการป้องกันการก่อมลพิษผ่านกระบวนการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และดำเนินการด้วยความรับผิดชอบ
  • ร่วมมือพัฒนามิตรทางธุรกิจ ลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด ในการแบ่งปันวิธีการ และหลักเกณฑ์ที่ใช้ วัดผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัย สุขอนามัย และสิ่งแวดล้อมที่เป็นเลิศสู่สาธารณะ
  • สนับสนุนชุมชนต่าง ๆ ในทั่วโลกที่เราเข้าไปดำเนินธุรกิจ โดยการส่งเสริมโครงการด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา สังคมสิ่งแวดล้อม และเรื่องอื่น ๆ
Share this post
Facebook
LinkedIn